พิธีบวงสรวง
เสาเอกเสาโท

           การทำ พิธีบวงสรวงเสาเอกเสาโท มีมายาวนานตั้งแต่โบราณ ด้วยมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่าเป็นการขอขมาต่อเจ้าที่เจ้าทางในบริเวณนั้น และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านที่จะสร้างและผู้ที่จะอยู่อาศัย ทั้งยังมีเรื่องของความเชื่อที่ว่าการทำพิธีตั้งเสาเอกจะช่วยให้การก่อสร้างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ปราศจากอุปสรรคขัดขวาง

           ตามหลักการก่อสร้างบ้าน ” เสาเอก ” ถือเป็นโครงสร้างบ้านที่มีความสำคัญมาก เป็นเสาต้นแรกของบ้านและทำหน้าที่รับน้ำหนักของตัวบ้านหรืออาคาร จึงเป็นโครงสร้างสำคัญที่ต้องมีความแข็งแรงทนทาน “เสาเอก” จึงเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงของบ้าน เชื่อว่าให้ผู้อยู่อาศัยได้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ปลอดภัยจากภยันตรายใดๆ ในประเทศไทย พิธีขึ้นเสาเอกเป็นพิธีสำคัญที่ขาดไม่ได้ด้วยมีความเชื่อว่า เป็นพิธีที่ทำเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้ที่จะอยู่อาศัย และการบวงสรวงเสาเอกเสาโท เป็นพิธีที่ใช้ในการบอกกล่าวและขอขมาต่อพระแม่ธรณีเจ้าที่เจ้าทางที่เรามารบกวน และขอให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

พิธีบวงสรวงลง เสาเอก เสาโท คืออะไร?

เสาเอก คือ เสารับน้ำหนักบ้าน แต่ไม่ใช่เสาที่ตอกลงไปให้จมลงดิน ความสำคัญของเสาเอก คือเป็นเสาต้นแรกของบ้าน เป็นเหมือนการเริ่มต้นครอบครัว หากเริ่มต้นดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง ในอดีตเสาเอกต้องเป็นเสาไม้ แต่ปัจจุบันที่การสร้างบ้านเปลี่ยนรูปแบบไป เสาเอกจึงเป็นเสาเหล็ก ปูน คอนกรีต ดังนั้นการทำเสาเอกจึงไม่ต้องใช้ไม้ แต่อาจเปลี่ยนเป็นเสาโครงคร่าวก่อนทำการเทปูนลงไปแทน

 

การเตรียมตัวเพื่อตั้ง พิธีบวงสรวงเสาเอก และเสาโท

  1. เลือกฤกษ์ดีในการตั้งเสาเอก

                อันดับแรกต้องหาวันมงคล โดยเลือกฤกษ์มงคลที่ถูกโฉลกกับเจ้าของบ้านเป็นหลัก อาจยึดตามปฏิทินจันทรคตินับแบบไทย แล้วเลือกจากวันอธิบดีหรือวันธงชัยของแต่ละเดือน หรือจะให้พระ ซินแส หรือพราหมณ์ ช่วยผูกดวงหาฤกษ์ที่เหมาะสมกับเจ้าของบ้าน

      2. เลือกเวลามงคลในการตั้งเสาเอก

                นอกจากวันมงคลแล้ว เวลาก็ต้องมงคลสอดคล้องกันด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนไทยมักจะถือเลข 9 เป็นเลขมงคล เพราะพ้องเสียงความหมายดีกับคำว่า “ก้าว” ซึ่งมักเป็นคำที่มีความหมายเชิงบวก เช่น ก้าวไปข้างหน้า ก้าวไกล ก้าวหน้า เป็นต้น เวลามงคลที่นิยมใช้กันคือ 9.09 น. หรืออาจจะเลือกไปดูฤกษ์หาเวลาที่เหมาะสมกับดวงของเจ้าของบ้านก็ได้เช่นกัน

      3. การจัดเตรียมของมงคล

                สามารถจัดเตรียมของในการทำพิธีได้ด้วยตนเอง หรือจะใช้บริการของออแกไนซ์รับจัดบวงสรวง รับทำพิธีลงเสาเอกเสาโท ก็ได้เช่นกัน เพราะของที่ต้องเตรียมใช้ในวันทำพิธีค่อนข้างเยอะ ละเอียดอ่อน และค่อนข้างมีความยุ่งยากในการจัดหา การใช้บริการออแกไนซ์ที่ รับลงพิธีเสาเอกเสาโท เป็นทางเลือกหนึ่งที่สะดวก และรวดเร็ว ไม่ต้องปวดหัวกับการจัดหาของเอง ยังทำให้ในวันทำพิธีมีโต๊ะบวงสรวงสวยงามอลังการ ช่วยเสริมบารมีแก่เจ้าของบ้านอีกด้วย


      4. ลำดับพิธีตั้งเสาเอก

                การทำพิธีบวงสรวงเสาเอกเสาโท นั้นสามารถนิมนต์พระสงฆ์ หรือจะเชิญพราหมณ์มาทำพิธีเสริมความมงคลก็ได้ แล้วแต่เจ้าของบ้านสะดวก และเชิญญาติผู้ใหญ่ หรือเจ้าของบ้านทำพิธี โดยผู้อยู่อาศัยทุกคนควรมาร่วมพิธี ซึ่งลำดับพิธีการตั้งเสาเอกจะมีรายละเอียดดังนี้

     1) นำต้นกล้วย ต้นอ้อย และผ้าสามสีผูกติดกับเสาเหล็กที่จะใช้ในพิธีตั้งเสาเอก

     2) เมื่อถึงเวลาฤกษ์ที่กำหนด เจ้าภาพจุดธูป เทียน ที่โต๊ะบวงสรวง

     3) พระสงฆ์ หรือ พราหมณ์ เริ่มสวดและทำพิธี

     4) เจ้าภาพจุดธูปไหว้เพื่อขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์

     5) สะบัดน้ำมนต์ โปรยดอกไม้ เพื่อขอพร และปักธูปที่เครื่องบวงสรวง

     6) ตอกไม้มงคล 9 ชนิด ลงไปในหลุมเสาเอก และวางอิฐมงคล โดยเรียงลำดับอย่างถูกต้อง

     7) วางแผ่นเงิน ทอง นาค และเหรียญเงินลงไปในหลุม

     8) สะบัดน้ำมนต์ และโปรยดอกไม้ลงในหลุม

     9) เจ้าภาพเจิมและผูกเข็มขัดเงิน ทอง นาค ตรงเสาเอกที่ผูกผ้าสามสี หน่อกล้วย และอ้อยเอาไว้

     10) ยกเสาเอกขึ้น พร้อมคนโห่ “โห่ ฮี่โห่ ฮิ่โห่ ฮิ่โห่ ฮิ่โหยยยย” และคนขานรับ “ฮิ้ววววววว”

     11) เมื่อตั้งเสาเอกได้องศาแล้ว จากนั้นผู้รับเหมาจะเทปูนที่เสาเอก

     12) พราหมณ์ทำพิธี ทำพิธีบวงสรวงลาเครื่องสังเวย และบัตรพลี เป็นอันเสร็จพิธี

รีวิวผลงาน