พิธีตั้งศาลถอนศาลพระภูมิ

           พิธีบวงสรวงตั้งศาลพระภูมิ เป็นประเพณีที่คนไทยนับถือกันมาตั้งแต่โบราณกาล ว่ากันว่าเมื่อสร้างบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะทำบุญขึ้นบ้านใหม่ จะทำพิธียกตั้งศาลพระภูมิก่อน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน เป็นที่อยู่ของเทวาอารักษ์ ช่วยปักรักษาให้คนในบ้านอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นไป ข้อห้ามสำคัญของการตั้งศาล คือ ต้องตั้งศาลให้อยู่ในที่ที่ไม่ถูกเงาของตัวบ้านบังทับ เพราะจะทำให้คนในบ้านเดือดร้อน ร้อนใจ ทะเลาะกัน

           ดังนั้นพิธีการรับจัดบวงสรวงตั้งศาลพระภูมิจะการมีวางแผนตั้งแต่ก่อนการตั้งศาล การหาสถานที่จะตั้งศาล ทิศทาง รวมถึงการทำแท่นวางศาล ความสูงของแท่น จำนวนขั้นของบันได ความกว้างและความยาวขนาดแท่นของศาลต้องสอดคล้องกับขนาดตัวศาลที่จะนำมาตั้ง และยังมีวันและฤกษ์ของการตั้งศาล มีความสำคัญ ควรเลือกวันที่ดีเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย

ลักษณะของศาล
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. ศาลพรหม-เทพ-เทพารักษ์ หากเป็นตำราโบราณกำหนดลักษณะในการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชั้นดาวดึงส์ พรหมโลก เทวโลก เทพเทวดาชั้นฟ้า ทั้งหลาย โดยลักษณะของศาลให้มีเสา 6 ต้น จึงจะถูกต้อง หากตั้งบนดาดฟ้า

จะอัญเชิญเทพ-พรหมสถิต ในกรณีตั้งศาล 6 เสา บนพื้นดิน สามารถอัญเชิญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ร่วมได้ทั้งพระพรหม-พระอินทร์-เทพ-รุกเทวดา-พระภูมิเจ้าที่-แม่พระธรณี-เจ้าที่-เจ้าท่า-เจ้าป่าเจ้าเขา-นางฟ้า-นางไม้ -แม่นางเจ้าของที่หากแต่ปัจจุบัน หลายที่สังเกตเห็นว่าใช้ศาลใหญ่เสาเดียว เชิญบวงสรวงพระพรหมสถิตตามอาคารใหญ่ต่าง ๆ ทั่วไป

2. ศาลเจ้าที่ หรือศาลตายาย ต้องตั้งบนพื้นดิน ห้ามขึ้นบนบ้าน หรือตั้งบนดาดฟ้าเป็นอันขาด โดยลักษณะของศาลให้มีเสา 4 ต้น

3. ศาลพระภูมิ ต้องตั้งที่พื้นดิน และห้ามขึ้นบนบ้านเช่นเดียวกับศาลเจ้าที่ โดยลักษณะ ของศาลให้มีเสาเพียง 1 ต้น

ทำไมต้องเลือกทีมงานมืออาชีพในการบวงสรวงตั้งศาล เพราะการ รับทำพิธีตั้งศาล และ รับทำพิธีถอนศาล จำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยทีมงานที่มีความรู้และประสบการณ์ ช่วยให้พิธีการเป็นไปอย่างราบรื่น และมั่นใจได้ว่า ทุกขั้นตอนการบวงสรวงตั้งศาลพระภูมิจะถูกต้องตามหลักพิธีกรรม เสริมสร้างพลังบวกและปกปักษ์คุ้มครองให้แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นมากที่สุดนั่นเอง