พิธียกเสาเอกเสาโทคืออะไร ตั้งอย่างไรให้เป็นมงคล?

พิธียกเสาเอกเสาโท อีกหนึ่งพิธีกรรมสำคัญและมีความหมายสำหรับชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่โบราณ สืบต่อกันมาตามความเชื่อ เพื่อเป็นการขอขมาแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการเข้ามาอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ โดยในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับเสาเอก-เสาโท และพิธียกเสาคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร พร้อมกับวิธีการจัดตั้งที่เหมาะสม เพื่อเสริมสิริมงคลต่อตัวเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัย พิธียกเสาเอก-เสาโท คืออะไร? ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับ พิธียกเสาเอกเสาโท เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเสาเอก-เสาโทกันก่อน เสาเอกเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงของบ้านเรือน เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากภยันตรายใด ๆ โดยเสาเอกเป็นเสาที่คอยรับน้ำหนักของบ้าน แต่อย่าเข้าใจผิดว่าเสาเอกเป็นเสาที่ใช้สำหรับตอกลงไปให้จมดิน เนื่องจากเสาเอกเป็นเสาต้นแรกของการสร้างบ้าน เปรียบเสมือนการเริ่มต้นครอบครัว หากการเริ่มต้นเป็นไปด้วยดี ก็หมายถึงความราบรื่นในชีวิต ซึ่งเสาโทนั้นจะเป็นเสารองของเสาเอก ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเสาเอก โดยเสาเอกมักตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และเสาโทอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน โดยในอดีต เสาเอกอยู่ในรูปลักษณ์ของเสาไม้ อันเนื่องมาจากในสมัยนั้นมีการก่อสร้างบ้านเรือนด้วยไม้เพียงอย่างเดียว จึงทำให้เสาเอกเป็นไม้เพียงเท่านั้น แต่ในปัจจุบันรูปแบบและวัสดุการสร้างบ้านได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงส่งผลให้เสาเอกแปรเปลี่ยนเป็นเสาเหล็ก เสาปูน หรือเสาคอนกรีต เป็นต้น ขึ้นอยู่กับลักษณะบ้านของแต่ละคนมีการก่อตั้งบ้านด้วยวัสดุอะไร ซึ่งการลงเสาเอกสามารถใช้เสาวัสดุชนิดอื่น ๆ ได้ แต่กระนั้นอาจจะต้องเปลี่ยนเสาโครงคร่าวก่อนเทปูนลงไป พิธียกเสาเอก-เสาโทมีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งตามความเชื่อของชาวไทยที่สืบต่อกันมา พิธียกเสาเอก-เสาโทเป็นพิธีที่ใช้ในการขอขมาแก่พระแม่ธรณีหรือเจ้าที่เจ้าทางที่เราไปรบกวนโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ซึ่งพิธียกเสาเอก-เสาโทจะทำให้การก่อสร้างบ้านใหม่สำเร็จลุล่วงและปราศจากอุปสรรคได้ด้วยเช่นเดียวกัน อีกทั้ง การทำพิธีเสาเอกยังช่วยค้ำจุนตัวบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลและความราบรื่นในการอยู่อาศัยนั่นเอง ขั้นตอนในพิธีการลงเสาเอกเสาโท พิธีลงเสาเอกเสาโทเป็นหนึ่งในพิธีกรรมต่าง ๆ […]

พราหมณ์ลงเสาเอกคือใคร? ขั้นตอนการลงเสาสำหรับปลูกบ้าน

พราหมณ์ลงเสาเอก เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถในด้านการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่้งพิธีลงเสาเอกเป็นการทำเพื่อความสบายใจและการขอขมาแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธในปัจจุบัน โดยในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับพราหมณ์ว่าคือใคร รวมทั้งพิธีลงเสาเอก พร้อมขั้นตอนสำคัญในการลงเสาเอกก่อนการก่อสร้างบ้านเรือน พราหมณ์ คือใคร พราหมณ์ (Brahmin) ในระบบวรรณะของสังคมฮินดู พราหมณ์เป็นสถานะที่สูงที่สุด โดยมีหน้าที่หลัก ๆ คือการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา อีกทั้งยังเป็นผู้ที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนทางศาสนาฮินดู รวมทั้งคัมภีร์ทางศาสนา หรือคัมภีร์พระเวท (Vedas) อีกด้วย ซึ่งพราหมณ์ถือว่าเป็นผู้สืบทอดความรู้ทางศาสนาและพิธีกรรมต่าง ๆ ของฮินดู โดยในประเทศไทย พราหมณ์หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาพรหมณ์ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มาจากวรรณะพราหมณ์ เพียงแต่เป็นกลุ่มคนที่สืบทอดความรู้ในด้านการประกอบพิธีกรรมมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งพราหมณ์ในประเทศไทยมักจะเป็นผู้ที่รับหน้าที่ประกอบพิธีกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นสิริมงคล ไม่ว่าจะเป็น พิธีการสร้างบ้าน หรือ พราหมณ์ลงเสาเอก เป็นต้น พิธีลงเสาเอกคืออะไร? ตามความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแล้ว พิธีลงเสาเอกคือพิธีกรรมที่ทำก่อนเริ่มต้นการก่อสร้างบ้านเรือน อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น วัด โบสถ์ หรือศาลา เป็นต้น ซึ่งพิธีลงเสาเอกเป็นการทำเพื่อขอขมาแก่เจ้าที่เจ้าทางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้คุ้มครองและเปิดทางการก่อสร้าง เพื่อให้การก่อสร้างเป็นได้ด้วยดี ไม่มีอุปสรรค นอกจากนี้ ผู้คนยังเชื่อกันว่าพิธีลงเสาเอกสามารถส่งเสริมความเป็นสิริมงคลและป้องกันภยันตรายจากสิ่งต่าง ๆ แก่ผู้อยู่อาศัยได้อีกด้วย จึงทำให้ก่อนการก่อสร้างทุกครั้ง […]