พราหมณ์ลงเสาเอกคือใคร? ขั้นตอนการลงเสาสำหรับปลูกบ้าน

พราหมณ์ลงเสาเอก เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถในด้านการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่้งพิธีลงเสาเอกเป็นการทำเพื่อความสบายใจและการขอขมาแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธในปัจจุบัน โดยในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับพราหมณ์ว่าคือใคร รวมทั้งพิธีลงเสาเอก พร้อมขั้นตอนสำคัญในการลงเสาเอกก่อนการก่อสร้างบ้านเรือน

พราหมณ์ คือใคร

พราหมณ์ (Brahmin) ในระบบวรรณะของสังคมฮินดู พราหมณ์เป็นสถานะที่สูงที่สุด โดยมีหน้าที่หลัก ๆ คือการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา อีกทั้งยังเป็นผู้ที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนทางศาสนาฮินดู รวมทั้งคัมภีร์ทางศาสนา หรือคัมภีร์พระเวท (Vedas) อีกด้วย ซึ่งพราหมณ์ถือว่าเป็นผู้สืบทอดความรู้ทางศาสนาและพิธีกรรมต่าง ๆ ของฮินดู

โดยในประเทศไทย พราหมณ์หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาพรหมณ์ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มาจากวรรณะพราหมณ์ เพียงแต่เป็นกลุ่มคนที่สืบทอดความรู้ในด้านการประกอบพิธีกรรมมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งพราหมณ์ในประเทศไทยมักจะเป็นผู้ที่รับหน้าที่ประกอบพิธีกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นสิริมงคล ไม่ว่าจะเป็น พิธีการสร้างบ้าน หรือ พราหมณ์ลงเสาเอก เป็นต้น

พิธีลงเสาเอกคืออะไร?

พิธีลงเสาเอก

ตามความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแล้ว พิธีลงเสาเอกคือพิธีกรรมที่ทำก่อนเริ่มต้นการก่อสร้างบ้านเรือน อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น วัด โบสถ์ หรือศาลา เป็นต้น ซึ่งพิธีลงเสาเอกเป็นการทำเพื่อขอขมาแก่เจ้าที่เจ้าทางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้คุ้มครองและเปิดทางการก่อสร้าง เพื่อให้การก่อสร้างเป็นได้ด้วยดี ไม่มีอุปสรรค นอกจากนี้ ผู้คนยังเชื่อกันว่าพิธีลงเสาเอกสามารถส่งเสริมความเป็นสิริมงคลและป้องกันภยันตรายจากสิ่งต่าง ๆ แก่ผู้อยู่อาศัยได้อีกด้วย จึงทำให้ก่อนการก่อสร้างทุกครั้ง จำเป็นต้องทำพิธีลงเสาเอกก่อน เพื่อสร้างความสบายใจในการพักแก่เจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัย

(อ่านเพิ่มเติม : พิธียกเสาเอกเสาโทคืออะไร ตั้งอย่างไรให้เป็นมงคล?

พิธีลงเสาบ้านมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

พิธีลงเสาเอกเป็นหนึ่งในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลายที่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนให้ถูกต้องตามหลักการ เรามาดูกันดีกว่าว่าพิธีลงเสาเอกบ้านมีขั้นตอนและกระบวนการอย่างไรบ้างที่ถูกหลัก

พิธีลงเสาเอก

1. การเตรียมเสา

สิ่งที่ขาดไปไม่ได้สำหรับพิธีลงเสาคือ ‘เสาเอก’ โดยก่อนวันถึงพิธีจำเป็นต้องเตรียมเสาเอกให้พร้อม โดยการนำหน่อกล้วย หน่ออ้อย และผ้าสามสีมาผูกติดกับเสาเอกให้เรียบร้อย

2. การวางสายสิญจน์

ในขั้นตอนนี้ควรให้พราหมณ์ลงเสาเอกเป็นผู้ทำ หรือหากไม่สามารถให้พราหมณ์เป็นผู้ดำเนินพิธีได้ ควรให้ผู้ใหญ่ที่นับถือหรือเจ้าของบ้านเป็นผู้ดำเนินการ โดยการวางสายสิญจน์ตั้งแต่โต๊ะหมู่บูชาที่เตรียมไว้ ไปจนถึงบริเวณที่ตั้งของเสาเอกก็จะเป็นการเสร็จสิ้นในขั้นตอนนี้

3. การอธิษฐาน

เจ้าของบ้านหรือเจ้าภาพพิธีเริ่มจุดธูปเทียนที่เตรียมไว้ที่โต๊ะหมู่บูชา จากนั้นเริ่มอธิษฐานถึงความเป็นสิริมงคล และก้มกราบที่โต๊ะหมู่บูชาและโต๊ะเครื่องสังเวยต่าง ๆ พร้อมกับขอให้เทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองผู้อยู่อาศัยและให้การสร้างบ้านดำเนินไปด้วยความราบรื่น

4. วางผลไม้และแผ่นนาก

หลังจากเสร็จสิ้นการไหว้อธิษฐานให้เริ่มทำการตอกไม้มงคล 9 ชนิดลงไปในหลุมที่เตรียมไว้สำหรับเสาเอก พร้อมกับวางแผ่นนาก แผ่นเงิน แผ่นทอง และเหรียญเงินลงไปในหลุมเดียวกันกับที่ตอกไม้มงคล

5. พระสงฆ์พรมน้ำมนต์

จากนั้นนิมนต์พระสงฆ์มาเพื่อพรมน้ำมันต์และโปรยทรายเสกลงไปที่หลุมเสาเอก ซึ่งในเวลาเดียวกันพระสงฆ์จะทำการเจิมและปิดแผ่นทองที่เสาเอกไปด้วย

6. การยกเสาเอก

เจ้าภาพพิธีและผู้เข้าร่วมพิธีลงเสาร่วมกันถือสายสินจน์ พร้อมยกเสาเอกให้เรียบร้อย ก่อนที่เจ้าภาพจะโปรยข้าวตอกดอกไม้และแป้งหอมลงหลุมเสาเอก เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการลงเสาเอกบ้านอย่างเรียบร้อย

บทสรุป

กล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ คือ พิธีลงเสาเอกเป็นพิธีกรรมที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตกาล โดยเป็นการขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเจ้าที่เจ้าทางให้การก่อสร้างบ้านเรือนลุล่วงไปได้ด้วยดี รวมทั้งเป็นการขอพรให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยให้มีแต่ความร่มเย็น และปลอดภัย ปราศจากอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น

หากท่านไหนที่กำลังมองหาออร์แกไนเซอร์ เพื่อทำพิธีลงเสาเอก หรือพิธีบวงสรวงอื่น ๆ Sirimongkol Organizer พร้อมให้บริการอย่างจริงใจ ด้วยบริการมากมายคครบครันสำหรับทุกความต้องการของลูกค้า สามารถเข้าไปชมได้ที่เว็บไซต์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เบอร์ 098-278-9887